โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ
ชนเผ่าพื้นเมืองชายขอบและเปราะบางที่สุดในประเทศไทย
Englishความเป็นมา
ชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาค มีภูมิสังคมอยู่บนพื้นที่สูงในเขตป่าและภูเขา ได้แก่ มละบริ บีซู ก่อ(อึมปี้)ทางภาคเหนือ และมานิทางภาคใต้ ญัฮกุร และไทแสกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชองทางภาคตะวันออก กลุ่มที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและเกาะ ได้แก่ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ยังไม่มีความชัดเจนด้านข้อมูลที่ทำให้เกิดการรับรู้และยอมรับของคนไทยโดยทั่วไป
ระบบฐานข้อมูลชนเผ่าพื้นเมือง จึงได้รับการพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของมูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (IPF) มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง (IKAP) และศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (EU) และคณะทำงานระหว่างประเทศเพื่อกิจการชนเผ่าพื้นเมือง (IWGIA)
วัตถุประสงค์:
ระบบข้อมูลองค์ความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย จะได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลต่อการรณรงค์และเชื่อมโยงการนำประเด็นข้อกังวลต่างๆ รวมถึงความต้องการพัฒนาศักยภาพที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย