การสร้างความตระหนัก


English

ภาระกิจการสร้างความตระหนัก

ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางยังขาดความรู้ถึงสิทธิตนเองตามกฎหมาย จึงมีการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นชุดความรู้เพื่อสร้างความตระหนักด้วการจัดให้มีเวทีชุมชน การผลิตสื่อเพื่อการเผยแพร่ความรู้และรณรงค์ การสร้างหุ้นส่วนที่นำไปสู่แผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนการพัฒนาตนเอง โดยอาศัยนโยบายทั้งระดับชาติและท้องถิ่นสนับสนุน

การพัฒนาสื่อที่หลากหลายเพื่อการรณรงค์

เครื่องมือของการรณรงค์ที่สำคัญนั่นคือ "สื่อที่หลากหลาย" การผลิตสื่อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการรณรงค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างศักยภาพในภาระกิจการสร้างความตระหนักของชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบาง จึงได้มีการผลิตสื่อที่ประกอบด้วย

  • จุลสาร สรุปแนวคิดความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองและสิทธิตาม UNDRIP
  • โปสเตอร์ แสดงถึงประเด็นสถานการณ์ความเปราะบางของชนเผ่าพื้นเมืองในไทย
  • วีดีทัศน์ เป็นคลิปวีดีโออธิบายความเปราะบางของชนเผ่าพื้นเมืองในไทย
  • เอกสารสรุป สถานการณ์และประเด็นความเปราะบางของชนเผ่าพื้นเมืองในไทย

การประชุมปรึกษาหารือ

เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาเป็นสื่อในการจัดสัมมนา ประชุมปรึกษาหารือเพื่อการวางแผนจัดการปัญหาหรือพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองร่วมกันในระดับชุมชน ท้องถิ่น

การพัฒนายุทธศาสตร์ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

การประชุมปฏิบัติการเรื่องยุทธศาสตร์และการสร้างเครือข่าย เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจพื้นที่และกระบวนการสำคัญของการทำให้เกิดแผนปฏิบัติการเพื่อก้าวเดินต่อไปในด้านสิทธิของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองชายขอบและเปราะบางที่สุดในประเด็นและข้อกังวลต่าง ๆ ของชุมชน ในแผนปฏิบัติการสนับสนุนของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และจะมีการประเมินความก้าวหน้าและการวางแผนรายละเอียดการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น

การเจรจาระดับนโยบาย

งานสนับสนุนเริ่มขึ้นเมื่อยุทธศาสตร์สภาชนเผ่าพื้นเมืองได้รับการพัฒนาขึ้น กิจกรรมที่นำไปสู่การเจรจาระดับนโยบายและท้องถิ่นประกอบด้วย:

  • การประชุม/การเจรจา (ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ) เกี่ยวกับการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตตามประเพณีและการยอมรับและประกาศเขตพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมพิเศษร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักนายกรัฐมนตรี (ในระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติ) รวมทั้งหน่วยงานผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล ผู้แทนรัฐบาลและผู้แทนสถาบันของรัฐ
  • ประชุม/เจรจากับสำนักงานสถิติแห่งชาติและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ) เพื่อการผนวกรวมชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองชายขอบและเปราะบางที่สุดไว้ในการสำมะโนประชากรแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล ผู้แทนรัฐบาลและผู้แทนสถาบันของรัฐ
  • ประชุม/เจรจากับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบอย่างยิ่งของแผนแม่บทป่าไม้ฉบับใหม่ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล ผู้แทนรัฐบาลและผู้แทนสถาบันของรัฐ
  • ประชุม/เจรจากับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล เพื่อการรับรองและการดำเนินงานของแผนยุทธศาสตร์ทางสังคมและสวัสดิการสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
  • การประชุมร่วม/การเจรจาร่วม (พร้อมกับ สชท.) ในการคงไว้ซึ่งสิทธิของ “ชนเผ่าพื้นเมือง” ในรัฐธรรมนูญฉบับร่างและฉบับสุดท้ายและการร่างกฎหมายที่ตามมาเกี่ยวกับสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้งผู้แทนรัฐบาล และผู้แทนสถาบันของรัฐ
  • ประชุม/เจรจากับหน่วยงานผู้มีอำนาจของท้องถิ่น เพื่อปรับปรุงช่องทางเข้าถึงบริการสาธารณะ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและดำเนินการแผนงาน/โครงการของรัฐบาล รวมทั้งความร่วมมือและการสนับสนุนกิจกรรม/โครงการ/แผนงานที่ชุมชนริเริ่ม