การเสริมสร้างความเข้มแข็ง

ชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มเปราะบางในประเทศไทย

English

ภาระกิจการเสริมสร้างความเข้มแข็ง

เสริมสร้างศักยภาพผู้นำ

คัดเลือกผู้นำของชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ มาเสริมศักยภาพผ่านการฝึกอบรม คือ

  1. กระบวนการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม
  2. ภาวะผู้นำและการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา
  3. การพัฒนาแผนที่เป็นเครื่องมือปฏิบัติการชุมชน
  4. การจัดการระบบสารสนเทศข้อมูลของชนเผ่าพื้นเมือง

การวิจัยชุมชน

เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนของชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อศึกษาเฉพาะรายเกี่ยวกับความเปราะบางและการเป็นชายขอบของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นการดำเนินการระดับครัวเรือนทุกชุมชนที่มีชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ โดยใช้วิธีการมีส่วนร่วม (Participatory Methods) ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning and Action - PLA)

การสร้างแผนที่

แผนที่ เป็นการนำสารสนเทศข้อมูลมาอธิบายด้วยภาพที่จัดวางไว้ในขอบเขตพื้นที่เดียวแล้วทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย เป็นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เบื้องต้น ที่ง่ายต่อการสื่อสาร จึงได้นำมาเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางได้พัฒนาแผนที่ของตนเองขึ้นใน 4 แผนที่ คือ

  • แผนที่การกระจายตัวการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนของชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์
  • แผนที่ขอบเขตชุมชน
  • แผนที่การถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
  • แผนที่การเคลื่อนย้ายตามแหล่งอาหาร

เส้นทางการเรียนรู้

จากการเสริมสร้างศักยภาพผ่านปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูล การทำแผนที่ชุมชน และการวิเคราะห์ประสบการณ์จึงเกิด "ปฏิบัติการที่ดี" สำหรับการสร้างเป็นเส้นทางการเรียนรู้การใช้เทคนิควิธีผสมผสานกับภูมิปัญญาและประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ จึงมีกระบวนการแบ่งปันความรู้และเรื่องราวความสำเร็จให้แก่ผู้มาเยือน เป็นการสร้างเครือข่ายหรือความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันในระยะเวลา 6 วัน